เครื่องปั้นดินเผาโบาณของไทย

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%97

“เครื่องถ้วย”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “เซรามิค” (Ceramic) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดทั้งที่เคลือบและไม่เคลือบ มีความหมายเดียวกันกับคำว่า  “เครื่องปั้นดินเผา” (Pottery) ส่วนคำว่า “เซรามิค” ใช้ในความหมายที่กว้างกว่า สามารถครอบคลุมโลหะเคลือบ  เช่น ช้อน สังกะสี อิฐ ตลอดจน แก้วทุกชนิด แต่คำว่า “เครื่องปั้นดินเผา” โดยทั่วไปมักเข้าใจว่ามีความหมายถึงเฉพาะแต่ที่ไม่เคลือบเป็นส่วนใหญ่ และเผาในอุณหภูมิไม่สูงพอที่จะเป็นเนื้อกระเบื้องได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วคำว่า “เครื่องปั้น ดินเผา” นั้นครอบคลุมได้ทั้งประเภทไม่เคลือบและประเภทเคลือบทั้งที่เผาไฟแรงสูงและต่ำก็ได้ เครื่องปั้นดินเผาอาจจำแนกตามแหล่งผลิตที่สำคัญๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง บ้านปราสาท เครื่องปั้น ดินเผาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนา เป็นต้น

เครื่องปั้นดินเผามีความผูกพันกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์ได้ใช้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันบรรจุอาหารและสิ่งของ จึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้นและปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยพบว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นต้นมา ในพื้นที่ของราชอาณาจักรไทยได้ปรากฏแหล่งเตาเผาตั้งกระจัดกระจายอยู่มากมายหลายแห่งรวมทั้งได้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมากมายหลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาในราชอาณาจักรไทยและผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ซึ่งได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่ายให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วยเทคนิคและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่างในแต่ละท้องถิ่นหรือตามสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน ซึ่งบางแห่งอาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้ จากการที่ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกันหรือมีการทำการค้าร่วมกันจึงทำให้อิทธิพลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปยังอีกชุมชนหนึ่งได้อย่างง่ายดายก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน

ต่อมาจึงมีพัฒนาการที่แตกต่างออกไปชุมชนบางแห่งก็อาจมีพัฒนาการทางการผลิตที่เป็นของตนเองโดยมิได้รับอิทธิพลจากภายนอก ซึ่งในระยะแรกจะผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกลุ่มชนของตนเองก่อนต่อมาจึงสามารถพัฒนาจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่และมีการส่งไปจำหน่ายเป็นสินค้าออกให้แก่ชุมชนใกล้เคียง

 

เทคนิคในการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา

เทคนิคในการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้เป็นเทคนิคพื้นฐานซึ่งใช้กันทั่วไปในหมู่ช่างปั้น ซึ่งเทคนิคต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ดัดแปลงเพื่อให้เกิดเทคนิคใหม่ๆจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของช่างปั้นเอง หรือแม้แต่โรงงานอุตสาหกรรมก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการผลิตเพื่อให้มีความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ต่างจากที่อื่น ดังที่เห็นกันอยู่ทั่วไปในท้องตลาด

เพื่อที่จะให้ผลงานออกมาดีนั้น จะต้องคำนึงถึงความตั้งใจ ความต่อเนื่องในการทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการทำงานตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากบางกรณีไม่อาจทิ้งงานเอาไว้เพื่อนำมาทำต่อวันหลังได้ เช่น ดินอาจจะแห้งจนเกินกว่าที่จะทำเทคนิคตกแต่งในช่วงดินหมาดได้ ดังนั้นจึงต้องให้เวลากับการทำงานจนกว่าจะเสร็จ

เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการของเครื่องเคลือบดินเผานั้น ผู้ที่สร้างควรจะมีมโนภาพได้ตั้งแต่เริ่มออกแบบเป็นงาน 2 มิติ ว่าจะเผาอย่างไร จะเคลือบอย่างไร เช่น ถ้าต้องการเผารากุ (Raku) ก็ควรเตรียมดินไว้ตั้งแต่ Sketch 3 มิติ หากปั้นด้วยดินชนิดอื่นก็ไม่อาจเผาด้วยเทคนิคนี้ได้ จะเห็นได้ว่างานเครื่องเคลือบดินเผานั้นจะต้องมีเทคนิคมาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้น ดังนั้นผู้ที่สร้างงานประเภทนี้ควรศึกษาและเตรียมความพร้อมทั้งเนื้อดินและการตกแต่ง การเคลือบไว้พร้อมๆกับการเริ่มทำแบบร่าง หากปั้นและเผาดิบออกมาแล้ว ก็คงจะเหลือเพียงไม่กี่เทคนิคที่จะเคลือบให้งานสมบูรณ์

ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ตรงความตั้งใจ จึงต้องมีการทดลองหลายๆ ครั้งจนมั่นใจเสียก่อนที่จะทำชิ้นงานจริง เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในการทำเครื่องปั้นดินเผา นับตั้งแต่การชั่ง ผสมวัตถุดิบ ซึ่งหากขาดสมาธิก็อาจทำให้ชั่งปริมาณวัตถุดิบ สารเคมีผิดพลาด ซึ่งกว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อเผางานเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อขึ้นรูปงานไม่ว่าจะเป็นการปั้นด้วยมือหรือขึ้นรูปโดยวิธีอื่นก็ตาม งานอาจแตกร้าว บิดเบี้ยวได้ หากขาดความรู้ความเข้าใจในการขึ้นรูป หลังจากนั้นเมื่อนำชิ้นงานไปเผาดิบอาจเกิดการปริ แตก หรือร้าวบนชิ้นงานได้ หากขึ้นรูปไว้ไม่ดี หรือหากเผาไม่ดีก็เกิดผลเสียหายกับชิ้นงานได้เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านการเผาดิบแล้วนำงานมาเคลือบ อาจจะเคลือบบางเกินไปหรือหนาเกินไปก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งกว่าจะรู้ก็ต้องรอจนกว่าเผาชิ้นงานเสร็จแล้ว ทำให้สิ้นเปลืองทั้งแรงงานและเชื้อเพลิงในการเผา

การสร้างงานศิลปะด้วยเครื่องปั้นดินเผาต่างกับการสร้างงานโดยวัสดุอื่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากการหดตัวของเนื้อดิน การเคลือบ การเผาจึงทำให้ไม่สามารถควบคุมสี รูปทรงได้ถึง 100% เมื่อเปิดเตาแล้วผลงานอาจจะออกมาดีกว่าที่คาดหวังไว้หรือบางครั้งงานอาจจะแตกร้าวไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้ ดังนั้น “ประสบการณ์” จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะควบคุมผลงานเครื่องปั้นดินเผาให้ออกมาได้ดังใจ

เครื่องปั้นดินเผาจังหวัดเชียงราย

เครื่องปั้นดินเผาจังหวัดเชียงราย

 

 

เครื่องปั้นดินเผาจังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในงานหัตถกรรมไทย ที่สร้างความประทับใจให้บรรดาผู้นำจากทั่วโลก ในบรรดาเครื่องถ้วยภาคเหนือ หรือ ที่เรียกว่า “เครื่องถ้วยล้านนา” นั้น เครื่องถ้วยของชุมชนเวียงกาหลง นับเป็นเครื่องถ้วยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เพราะมีทั้ง ลักษณะที่สวยงาม น้ำหนักเบา เนื้อบาง ทั้งการเคลือบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นิยมเคลือบถึงบริเวณเชิงของภาชนะน้ำเคลือบใสมีทั้งสีฟ้าอ่อน สีเขียวอ่อนและสีเหลืองอ่อนผิวของเครื่องถ้วยมีรอยแตกรานสวยงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเครื่องปั้นเวียงกาหลงมาแต่โบราณ

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เครื่องปั้นเซรามิก จากหมู่บ้านเวียงกาหลงได้รับการรับรองให้เป็นสุดยอดสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว และเป็นสุดยอดศิลปหัตถกรรมของจังหวัดเชียงราย สินค้าหลักที่จำหน่ายนั้นจะเน้นใช้งานได้จริง เช่น ชุดถ้วยน้ำชากาแฟ แจกัน ถ้วย ชาม เป็นต้น ส่วนลวดลายที่ปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์ของเวียงกาหลงมี 4 แบบ ประกอบด้วย ลายศรีโคม คำลาย สัตว์ป่าหิมพานต์ ลายดอกกา และลายปลา สามารถนำไปใช้สอยหรือประดับตกแต่งอาคารสถานที่ เช่น สถานที่ราชการ โรงแรม อาคาร บ้านเรือน บ้านพัก รับรอง หรือ ภัตตาคาร ก็เพิ่มความสง่างามได้ไม่น้อย ราคาจำหน่ายมีตั้งแต่ 50 บาทไป จนถึง 1,500,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และลวดลายของผลิตภัณฑ์
เอกลักษณ์จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ มีเรื่องราว และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่ อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์ยังไม่มีการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต ในพื้นที่มีแหล่งวัตถุดิบหลักราคาถูก และหาง่ายผู้ประกอบการมีความรู้ในเรื่องราวเครื่องเคลือบเวียงกาหลง และมีทักษะในการผลิตและลวดลายเวียงกาหลง ผลิตภัณฑ์มีลักษณะบาง เบา เพราะปั้นขึ้นรูปด้วยลาวาภูเขาไฟ มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับได้รับรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีผลงานผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมดีเด่นระดับจังหวัด ประเภทเครื่องปั้นดินเผา จากกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับโล่เกียรติยศตามโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจด้านวัฒนธรรม จากกระทรวงวัฒนธรรม
กระบวนการผลิต เตรียมดินโดยการหมักทิ้งไว้แล้วนำมานวดให้เหนียว ขึ้นรูปด้วยการปั้นด้วยมือและแท่นหมุนทิ้งไว้ให้แห้งแล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิ 750 องศา ใช้เวลาเผา 6-8 ชม. นำมาเขียนลายด้วยสีดินจากธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบ ซึ่งน้ำเคลือบทำจากขี้เถ้าไม้นำเข้าเตาเผาอุณหภูมิสูง 1,200 องศา ใช้เวลาเผา 10-12 ชม.นำออกจากเตาเผาได้

การใช้เทคโนโลยีมาช่วยต่อยอดการผลิตเครื่องปั้นดินเผา

1341324433เครื่องปั้นดินเผา เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างแนบแน่นมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้เพราะเครื่องปั้นดินเผาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนเงื่อนไขความต้องการของสังคมที่เป็นเจ้าของ เป็นผลงานจากมันสมองและฝีมือของผู้สร้าง ซึ่งมิได้มีความหมายแต่เพียงคุณค่าทางสุนทรียะเท่านั้น หากแต่ยังเป็นงานช่างฝีมือที่แสดงถึงภูมิปัญญาและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีของชุมชนที่สั่งสมและสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ดังนั้นเครื่องปั้นดินเผาจึงมีแง่มุมให้ศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี รูปแบบ และวิถีชีวิตของสังคมที่ผลิตและใช้เครื่องปั้นดินเผาเหล่านั้น

รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาในแต่ละท้องที่จะมีการผลิตเฉพาะที่นำไปใช้สอยต่างกัน และแต่ละแห่งก็จะมีรูปแบบและการผลิตเป็นของตนเอง มักจะมีการปั้นหม้อน้ำและน้ำต้น ซึ่งรูปรงของหม้อน้ำจะเป็นหม้อปากแคบกลางป่อง ก้นสอบ มีฝา ที่ไหล่หม้อจะทำเป็นลวดลาย ผิวหม้อน้ำทาเคลือบด้วยดินแดงขัดมัน ส่วนน้ำต้นเป็นคนโทคอยาว มีฝา และได้พัฒนารูปทรงตามความต้องการของตลาด เช่น หม้อก็อก หม้อกลีบมะเฟือง หม้อทรงมะยม ฯลฯ รวมทั้งขั้นตอนการผลิตเป็นแบบแป้นหมุน หรือบ้านหารแก้ว และบ้านกวน มักจะทำเป็นหม้อดินเผาประเภทเป็นภาชนะสำหรับหุงต้มอาหารพื้นบ้าน ขั้นตอนการผลิตจะไม่ใช้แป้นหมุน แต่จะใช้วิธีขึ้นรูปโดยวางชิ้นงานไว้บนตอไม้แล้วปั้นโดยการเดินรอบตอไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดีช่างปั้นดินเผาก็ได้พัฒนารูปแบบและลวดลาย ตลอดจนประเภทของภาชนะที่ได้ผลิตขึ้นนั้นให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

มีการคิดค้นและพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาหลากหลายด้าน ทั้งการพัฒนาในส่วนของดินที่นำมาใช้เพราะดินถือเป็นส่วนประกอบหลักที่มีความสำคัญมากต่อการทำเครื่องปั้นดินเผา ถ้าดินที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผานั้นมีคุณภาพที่ดี เราก็จะได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีความคงทน แข็งแรง ตลอดจนการพัฒนาลวดลายของเครื่องปั้นดินเผาให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น สวยงามขึ้น ซึ่งการพัฒนาต่างๆเหล่านี้จะทำให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นที่นิยมและมีมูลค่าที่สูงขึ้นตามไปด้วย ริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เครื่องปั้นดินเผาให้มีเอกลักษณ์ขอศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ

ชนิดของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
1. อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาขนาดครอบครัว (Primitive Industry) หรืออุตสาหกรรมภายในครอบครัว (Home Industry) ได้แก่ อุตสาหกรรมเล็กที่ทำกันในบ้าน ใช้คนทำไม่เกิน 7 คน เช่น พวกลูกหลานหรือคนอื่นที่มาช่วย ไม่มีเครื่องยนต์ หรือเครื่องทุ่นแรงในการผลิต
2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม (Small Scale Industry) มีเครื่องยนต์ เครื่องทุนแรง ใช้ในการผลิต ถ้าเป็นประเทศแถบเอเชีย กำหนดให้มีแรงงานไม่เกิน 500 คน แต่ถ้าเป็นประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา กำหนดแรงงานไม่เกิน 1,000 คน สำหรับประเทศไทยมีอุตสาหกรรมขนาดนี้และสหรัฐอเมริกา
3. อุตสาหกรรมหนักหรือขนาดใหญ่ (Large Scale Industry) มีเครื่องยนต์ เครื่องทุ่นแรงและคนงานเป็นจำนวนมากทางประเทศเอเชีย กำหนดให้มีแรงงานเกินกว่า 500 คน ประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา กำหนดแรงงานเกินกว่า 1,000 คน

บทบาทหัตถกรรมไทย
หัตถกรรมไทยที่มีบทบาทสำคัญผูกพันกับการดำรงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติสาสตร์เพื่อทำภาชนะบรรจุน้ำดื่ม น้ำใช้ อาหาร และสิ่งของต่างๆ
ดิน ความหมายทางธรณีวิทยา หมายถึงเม็ดแร่และเศษหินที่ผุพังแล้วย่อยสลายผสมกับสารอินทรีย์วัตถุต่างๆ กลายเป็นดิน โดยใช้เวลานานหลายพันปี ดินที่มีความเหนียวและมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาได้แก่ ดินดำ และดินขาว
ดินดำ BALL CLAY เป็นดินเหนียวสีดำ พบตามท้องไร่ท้องนาทั่วๆไป และแหล่งน้ำชาวชนบทใช้ดินดำทำเครื่องปั้นดำเผาไว้ใช้สอยในท้องถิ่น เพราะเผาในอุณหภูมิต่ำ โดยนำมาผสมกับดินเชื้อ ซึ่งผ่านการเผาแล้วเพื่อช่วยควบคุมการทรงตัว และหดตัว ป้องกันการแตกร้าวของผลิตภัณฑ์ แหล่งดินดำมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของไทย
ดินขาว WHITE CLAY เป็นดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุประเภทแร่ FELDSPAR และหินชนิดต่างๆ เช่น หินแกรนิตเป็นต้นดินขาวเป็นดินคุณภาพดี เหมาะในการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพ สามารถนำมาปั้นขึ้นรูปทรงได้โดยไม่ต้องผสมกับวัสดุ อื่น เมื่อเผาจนถึงจุดสุกตัว เนื้อดินแกร่งและเป็นสีขาว แหล่งผลิตดินขาว ที่สำคัญในประเทศไทย อยู่ในภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และภาคใต้ จังหวัดระนอง และสุราษฏร์ธานี

เครื่องปั้นดินเผา
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยที่มีบทบาทสำคัญผูกพันกับการดำรงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อทำภาชนะบรรจุน้ำดื่ม น้ำใช้ อาหาร และสิ่งของต่างๆ ทำเครื่องประดับและใช้ในพิธีกรรมทางขนบธรรมเนียนประเพณี หัวใจสำคัญของการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อดิน และส่วนผสมของแร่ธาตุชนิดต่างๆผสมกันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตลอดจนเทคโนโลยี อันได้แก่ เตาเผาและเชื้อเพลิงนอกจากนั้นลักษณะสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศและวัฒนธรรมท้องถิ่นล้วนเป็นปัจจัยที่กำหนดลักษณะรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ให้มีเอกลักษณ์ขอศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ

คนเรานั้นให้ความสำคัญกับมูลค่าเครื่องปั้นดินเผาและการตลาดมากกว่าการที่จะอนุรักษ์

 

ปัจจุบันคนเรานั้นให้ความสำคัญกับมูลค่าเครื่องปั้นดินเผาและการตลาดมากกว่าการที่จะอนุรักษ์ความดั้งเดิมของมรดกวัฒนธรรมไทย ซึ่งทำให้สังคมไทยเราน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากที่ต่อไปจะไม่ได้เห็นความประณีตของงานเครื่องปั้นดินเผาและทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้รับความเชื่อแบบผิดๆว่าสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ถูกต้อง

“วันไหนขายได้วันนั้นคือกำไร วันไหนขายไม่ได้ทำเราขาดทุน” นี่เป็นคำพูดนักปั้นเครื่องปั้นดินเผามากประสบการณ์ที่ผ่านการทำงานมากว่า 17 ปี ที่มีความคิดทัศนคติที่อยากจะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันคนเรานั้นให้ความสำคัญกับมูลค่าของเครื่องปั้นดินเผาและการตลาดมากกว่าการที่จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่มีความประณีตงดงามให้สืบทอดสู่รุ่นต่อไป จนทำให้อาชีพเหล่านั้นเริ่มค่อยๆหายไปจากสังคม

นอกจากนี้ยังย้ำถึงความเสื่อมของศิลปะเครื่องปั้นดินเผาว่าเป็นเพราะ กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อคนที่ทำอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความสนใจและให้ราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันของเหล่าบรรดาช่างปั้นและร้านที่ขายงานเครื่องปั้นดินเผาบวกกับความเร่งรีบในการทำงานให้ทันตามออร์เดอร์จนลืมความพิถีพิถันของการปั้นดินและการแกะสลักลวดลายดั้งเดิมที่เคยมีมา

สังคมและวัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่ง แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเกี่ยวพันกับปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบ ดังนั้น วัฒนธรรมอาจเหมาะสมกับแค่ยุคสมัยหนึ่ง แต่อาจไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนในอีกยุคหนึ่งก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งวัฒนธรรมเดิมอย่างสิ้นเชิงเพราะรากเหง้าของวัฒนธรรมของไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมมาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากลักษณะบางอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในยุคนั้น จึงได้ทำให้นำวัฒนธรรมบางอย่างจากต่างชาติมาใช้ทดแทนบ้าง แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ เพราะหากไม่อนุรักษ์ไว้ความดั้งเดิมที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษก็จะค่อยๆจางหายไป

สังคมไทยเราน่าเป็นห่วง เพราะ มีแต่พวกเห็นแก่ตัวไม่เห็นคุณค่าความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่ที่ชาติใดก็อาจมีไม่เหมือนชาติเรา แทนที่จะเก็บสิ่งที่มีค่ามีความเก่าแก่ไว้ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้ดู แต่กลับต้องให้ลูกหลานได้มาดูสิ่งที่ไม่เหลือแม้แต่ความดั้งเดิมและยังมีความเชื่อแบบผิดๆ ที่จะบอกรุ่นต่อๆไปอีก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่คิดแล้วน่าเศร้าใจเป็นอย่างมาก

รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของไทย

เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยที่มีบทบาทสำคัญผูกพันกับการดำรงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อทำภาชนะบรรจุน้ำดื่ม น้ำใช้ อาหาร และสิ่งของต่างๆ ทำเครื่องประดับและใช้ในพิธีกรรมทางขนบธรรมเนียนประเพณี หัวใจสำคัญของการทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อดิน และส่วนผสมของแร่ธาตุชนิดต่างๆผสมกันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตลอดจนเทคโนโลยี อันได้แก่ เตาเผาและเชื้อเพลิงนอกจากนั้นลักษณะสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศและวัฒนธรรมท้องถิ่นล้วนเป็นปัจจัยที่กำหนดลักษณะรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ให้มีเอกลักษณ์ขอศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ

เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย มีทั้งชนิดแบบไม่เคลือบและเคลือบกว่า 6,000 ปีมาแล้วก่อนคริสต์กาล มีการพบเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเผาในอุ๖หภูมิต่ำ และแบบไม่เคลือบที่ถ้ำผีแมนในเขตภาคเหนือของไทย โดยพบเมล็ดข้าวอยู่ติดกับหม้อดินเผา

เครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรมบ้านเชียงในเขตตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณ 5,600 ปีมาแล้วเป็นเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบ ลักษณะขึ้นรูปด้วยมือโดยไม่ใช้แป้นหมุน และใช้ไม้ตีผิวนอกให้เรียบร้อยหรือให้ได้รูปร่างตามต้องการ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “หินดุ” รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมักมีเชิงหรือฐานทำคนละชิ้นแล้วนำมาต่อกันภายหลัง การตกแต่งลวดลายใช้วีการขูด การทาบ การกดประทับ หรือเขียนลายด้วยสีแดง เช่น หม้อ ไห แจกัน ทัพพี เบ้าหลอมรูปปั้นตัวสัตว์ศิวลึงค์ แวปั่นด้ายและลูกปัด เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง นับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงวัฒนธรรมและแหล่งโบราณคดีของไทยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมัยอาณาจักรสุโขทัย-อยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 จัดว่าเป็นยุคทองของเครื่องปั้นดินเผาไทย ซึ่งมีคุณภาพดีเยี่ยมแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและความฉลาดหลักแหลมของคนไทยในยุคนี้โดยมีแหล่งเตาเผาขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า เตาทุเรียง และเตาประทุนอยู่ที่เมืองสวรรคโลกเก่า (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย) และเมืองสุโขทัยเก่า รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีทั้งแบบชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบซึ่งเรียกว่า “เครื่องสังคโลก” เป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยในครัวเรือน และใช้ในงานพิธีกรรม ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องมุงหลังคาและกระเบื้องปูพื้นฯลฯ การทำเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ นอกจากจะใช้ภายในราชอาณาจักรแล้ว ยังใช้เป็นสินค้าส่งออกอีกด้วย

รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของไทย มีการเปลี่ยนแปลงสืบทอดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัยเกือบทั่วทุกภาค ปัจจุบันการผลิตเครื่องปั้นดินเผามีหลายรูปแบบทั้ง ชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบ ชนิดไม่เคลือบมีการผลิตเป็น 2 ลักษณะ คือเป็นการผลิตเพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยในท้องถิ่นตามชนบทพื้นบ้านทั่วๆไป รูปแบบผลิตภัณฑ์จะต่อเนื่องจากบรรพบุรุษดั่งเดิมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น หม้อน้ำ คนโท น้ำต้น กระถางต้นไม้ แจกัน และตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ส่วนการเผาก็ทำกันง่ายๆ บางแห่งเผากลางแจ้งใช้ฟืนและฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิง บางแห่งจะก่ออิฐเป็นเตาเผาง่ายๆ ใช้แกลบหรือฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงเช่นกัน แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบมีตามชนบทในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เช่น ที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย มหาสารคาม อุบลราชธานี หนองคาย สงขลา นครศรีธรรมราช และปัตตานี เป็นต้น

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาของไทยมีการผลิตกันมานาน จากประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยทุกคนคงเคยได้ยินถึงการผลิต “เครื่องสังคโลกหรือถ้วยชามสังคโลก” ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ มีรูปทรงลวดลายสีสันสวยงามมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมและได้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภทตามลักษณะของเนื้อดิน ดังนี้

ก. เทร์ราคอตตา (TERRA COTTA) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหยาบสีออกแดงน้ำตาล มีทั้งชนิดเคลือบ และไม่เคลือบ เช่น กระถางต้นไม้แจกันดิน โอ่งมังกร เป็นต้น
ข. เอิร์ทเทนแวร์ (EARTHENWARE) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อดินแน่น ทึบแสง เคลือบมันส่วนใหญ่ผลิตเป็นเครื่องถ้วยชาม
ค. สโตนแวร์ (STONEWARE) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแข็งทึบแสง มีเนื้อดินผสมมากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ เครื่องใช้และเครื่องประดับบ้าน
ง. พอร์ซเลน (PORCELAIN) เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดีมีเนื้อแกร่ง โปร่งแสง เคลือบเป็นมัน เคาะดูมีเสียงกังวาน ไม่ดูดน้ำ ผลิตเป็นของใช้ประจำวัน งานแพทย์ วิทยาศาสตร์และเครื่องประดับชนิดต่างๆ
จ. โบนไชนา (BONE CHINA) เป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดที่ดีที่สุด ราคาแพงที่สุด มีความขาวและวาวมาก เนื้อบางเบาแข็งแกร่ง มีการใช้เถ้าจากกระดูกสัตว์ผสม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความเบาและเงางาม ผลิตเป็นเครื่องใช้ และเครื่องประดับชนิดต่างๆ

นอกจากจะแบ่งตามลักษณะเนื้อดินแล้วยังมีการแบ่งตามลักษณะการใช้งานอีกด้วยคือ
ก. เครื่องใช้สำหรับการก่อสร้าง เช่น กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และสุขภัณฑ์
ข. เครื่องใช้สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น ถ้วย จาน ชาม ต่างๆ
ค. เครื่องใช้สำหรับใช้ประดับตกแต่ง และของชำร่วย ของที่ระลึกต่างๆ เช่น แจกัน ตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ต่างๆ เป็นต้น
ง. เครื่องปั้นดินเผาสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบเครื่องจักรกลหรือเครื่องไฟฟ้า เช่น ลูกถ้วยไฟฟ้า เป็นต้น

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทยปัจจุบันได้พัฒนาจากการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและทดแทนการนำเข้า มาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้ามาช่วย ด้วยการเชิญชวนนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนกับผู้ผลิตของไทย เป็นต้น

ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. ๒๕๓๕ แสดงให้ทราบว่ามีโรงงานเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรวม ๙๓ ราย โดยแยกเป็นผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์ ๑๖ ราย มีกำลังการผลิตกระเบื้องโมเสก ๑๑๑,๓๐๐ ตันต่อปี กระเบื้องปูพื้นบุผนัง ๔๗๔,๕๐๐ ตันต่อปี เครื่องสุขภัณฑ์ ๖๔,๓๐๐ ตันต่อปี ผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาสำหรับใช้ในครัวเรือน ของชำร่วยของที่ระลึก เครื่องประดับบ้าน รวม ๗๗ ราย มีกำลังการผลิตรวม๑๑๙,๕๕๓ ตัน และ ๘๔.๖ ล้านชิ้น เป็นต้น โดยโรงงานเหล่านี้มีการลงทุนค่อนข้างสูงและบางรายร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตที่ทำการผลิตในรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือนอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถรวบรวมจำนวนและกำลังการผลิตได้

แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญของไทยคือภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการผลิตในภาคกลางที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี เป็นต้น ส่วนภาคอีสานมีมากที่ ตำบลด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

ศิลปะการทำเครื่ื่องปั้นดินเผาออกสู่ตลาดโลก

เสน่ห์เครื่องปั้นดินเผา ศิลปะแขนงนี้ไม่เพียงพบว่ามีความเป็นมานับแต่ครั้งยุคก่อนประวัติ ศาสตร์ ในด้านวิวัฒนาการการสร้าง สรรค์ยังมีความโดดเด่น โดยเทคนิคผลงานแต่ละยุคสมัยมีความหลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะของผล งาน ปัจจุบันศิลปะเครื่องปั้นดินเผาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

CERAMICS หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่นำมาปั้นแล้วเผา ซึ่งมีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ปัจจุบัน CERAMICS ไม่ได้หมายถึงงานดินเผาไฟเคลือบเท่านั้น ยังรวมถึงงานเครื่องแก้ว ซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ เครื่องสุขภัณฑ์ ฉนวนไฟฟ้า และการเคลือบ บนโลหะ งานเครื่องปั้นดินเผาแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1. ศิลปอุตสาหกรรม ( Industrial Arts ) คือเครื่องปั้นดินเผาที่ออกมาในรูปของสิ่งของเครื่องใช้ประเภท เคลือบเช่น จาน ชามถ้วย โถ กระเบื้องมุงหลังคา อิฐทนไฟ ท่อดินเผา เครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น

2. ศิลปบริสุทธิ์ ( Fine Arts ) คืองานเครื่องเคลือบดินเผาที่ออกมาในรูปของงานศิลปะ ไม่ได้มุ่งหมายเกี่ยว กับการใช้สอย ในสมัยโบราณมักทำขึ้นเพื่อศาสนา เพื่อความศรัทธา เช่นพระพุทธรูป รูปเคารพ หรือรูป สัตว์ต่างๆตามคตินิยม ปัจจุบัน ไม่ได้มุ่งเรื่องทางศาสนา แต่เพื่อแสดงออกอย่างอิสระตามความคิดของ ผู้สร้างสรรค์

ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผา แบ่งออกได้ 3 ลักษณะที่สำคัญ คือ
1. Earthern Ware เป็นเครื่องปั้นดินเผาระดับต่ำสุด มีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ เผาในอุณหภูมิต่ำ เนื้อดินหยาบได้แก่ อิฐ กระถาง หม้อดิน น้ำต้น(คณโฑ) ถ้วย จาน ชาม โอ่ง ไห ฯลฯ
2. Stone Ware เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ อาท ิ แร่ยิปซัม แร่ควอตซ์ ผสมในเนื้อดินปั้นแล้ว เผาในอุณหภูมิสูง จะได้เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งกันน้ำ และกันซึมได้ เป็นพวกฉนวนไฟฟ้า จาน ชามกระเบื้อง แก้ว เครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ฯลฯ
3. Porcelain เป็นเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี ที่สุดเนื้อดินปั้นมีเนื้อละเอียดผสมแร่ธาตุต่างๆและเถ้ากระดูกวัว ( Bone China) แล้ว เผาในอุณหภูมิสูงมากจนถึงจุดสุกตัว เนื้อดินปั้นและส่วนประกอบหลอมละลาย เป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าผลิตภัณฑ์เนื้อบาง จะมีลักษณะโปร่งแสง เนื้อแกร่ง กันน้ำกันซึม ทนทานต่อสาร ละลายและสารเคมีทุกชนิด ทนความร้อนสูง มักใช้ผลิต อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์หรือชิ้นส่วนที่ต้อง การความทนทานมาก ไม่ค่อยนิยมทำเป็นภาชนะเช่น จาน ชาม ถ้วย เนื่อง จากมีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้มีราคาแพงมาก

วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาของจีนที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

เครื่องปั้นดินเผาถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญของชาวจีนในสมัยโบราณ เพราะมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แท้ที่จริงแล้ว ชาวจีนในยุคโบราณกาลต่างคุ้นเคยกับดินเป็นอย่างดี เพราะบรรพบุรุษของพวกเขาดำรงชีพด้วยการทำไร่ไถนาจึงมีโอกาสคลุกคลีกับดินจนเรียนรู้ว่า หลังจากที่ดินเหนียวถูกน้ำ จะจับตัวกันเป็นก้อนเหนียวจนสามารถปั้นให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ เมื่อนำไปตากแดดให้แห้งจะช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่ก้อนดินเหล่านั้น แต่ถ้านำไปผ่านการเผาก็จะเกิดคุณสมบัติพิเศษในการกันน้ำและมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จุดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์การใช้ประโยชน์ของไฟในยุคดึกดำบรรพ์หรือประมาณ 1 ล้านกว่าปีก่อน ที่กล่าวมานี้ถือเป็นจุดกำเนิดของการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การค้นพบศิลปะแขนงนี้ ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง การก้าวเข้าสู่ความเป็นอารยชนของมนุษยชาติ เพราะถือเป็นครั้งแรกที่เรารู้จักนำทรัพยากรซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ มาผสานเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และผลิตเป็นของที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

จีนเป็นแหล่งกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายคราม เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนมีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปร่างสวยงาม เนื้องานละเอียด และยังได้รวมเอาคุณค่าด้านการใช้งานและคุณค่าทางศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่อง เคลือบลายครามของจีนยังคงเฟื่องฟู แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามที่มีชื่อเสียงของจีน ได้แก่ จิ่งเต๋อเจิ้น ถังซานและสือวาน

เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบที่ซากเมืองโบราณยินซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ซางเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนเกิดในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาลดความสำคัญลงไปโดยมีเครื่องเคลือบลายครามเข้ามาแทนที่ ในสมัยราชวงศ์ถังการสร้างสรรค์ทางศิลปะและเทคนิคการผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้รับการพัฒนาจนสุกงอมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เครื่องเคลือบลายครามสีเขียวอ่อน เครื่องเคลือบลายครามสีขาวและเครื่องเคลือบลายครามสามสีถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงเทคนิคและศิลปะการผลิตขั้นสูงสุดของเครื่องเคลือบลายครามในสมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน มีเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามจำนวนมากจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามเจริญรุ่งเรืองมาก จึงมีเตาเผาที่มีชื่อเสียงในการผลิตเกิดขึ้นมากเช่นกัน จนมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงและชิงซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุด เทคนิคและฝีมือการผลิตในยุคนี้ก็ได้รับพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเช่นกัน

 

ยกระดับเครื่องปั้นดินเผา เพื่อการพัฒนาสู่สินค้าตลาดโลก

เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านในอดีตผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ มีทั้งไม่เคลือบและมีการเคลือบผิว จนสามารถสร้างเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ ที่สามารถผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อการค้าขาย และได้พัฒนาจน มีรูปแบบ ประโยชน์ใช้สอยมากมาย ซึ่งในปัจจุปันเครื่องปั้นดินเผาได้พัฒนาขึ้นจนเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผลิตเพื่อการส่งออกที่สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน สาเหตุจากการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีด้านวัสดุสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ส่งผลให้เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ถูกลดความสำคัญลง ผู้คนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านเพื่อขายจึงทยอยเลิกผลิตไปที่ละแหล่ง จนบางแหล่งเลิกผลิต หันไปประกอบอาชีพด้านอื่น เพื่อสร้างรายได้ทดแทน เหตุที่พัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านหยุดนิ่ง เกิดจากความนิยมในการใช้งานลดลง คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในสังคมปัจจุบัน รูปแบบดั้งเดิมที่ขาดการประยุกต์ออกแบบและพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายหากเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์จะค่อย ๆ เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา การวิจัยเพื่อยกระดับเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการพัฒนาสู่สินค้า OTOP ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงพัฒนา การผลิต ด้านการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันในปัจจุปันได้มากขึ้น มีการพัฒนาวิธีการผลิตคือเทคนิคในการผลิต การออกแบบ การตลาด ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน เพื่อจัดวางแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม แก้ปัญหา เพื่อให้แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่สร้างรายได้ และความภาคภูมิใจ ให้กับคนไทยว่าสินค้าของไทยก็โดดเด่นไม่แพ้ชาติใดในโลก