เครื่องปั้นดินเผาในสมัยอดีต

เครื่องปั้นดินเผา

 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ มีการดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การเก็บของป่า และการเพาะปลูกอย่างง่ายๆ อาศัยอยู่ตามถ้ำ หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นครอบครัวหรือเป็นชุมชนเล็กๆ นักวิชาการสมัยก่อนแบ่งประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคใหญ่ๆ 2 ยุค คือ ยุคแรกเรียกว่ายุคหิน ยุคที่สองเรียกว่ายุคโลหะ

ในยุคหินมนุษย์รู้จักการนำหินมาใช้เป็นเครื่องมือต่างๆ ในการดำรงชีวิต ในตอนแรกยังไม่รู้จักวิธีการตกแต่งหินให้มีความคม หรือให้เป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อการใช้งาน เรียกว่ายุคหินเก่า ต่อมาก็รู้จักการตกแต่งหินบ้างเล็กน้อย เรียกว่ายุคหินกลาง และเมื่อรู้จักตกแต่งหินอย่างละเอียดประณีตขึ้นแล้ว ก็เรียกว่ายุคหินใหม่

เครื่องปั้นดินเผาสมัยศรีวิชัย

สมัยศรีวิชัยมีอายุใกล้เคียงกับสมัยทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 หรือประมาณ 1,600 – 2,200 ปี มาแล้ว อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปถึงคาบสมุทรมลายู มีเมืองโบราณสำคัญ เช่น เมืองไชยา ตะกั่วป่า ตามพรลิงค์(หรือนครศรีธรรมราช) นักโบราณคดีได้พบแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาหลายแห่งที่ขึ้นชื่อมาก คือ ที่บ้านปะโอ  ตำบลม่วงงาม และที่วัดบ้านวัดขนุน ตำบลวัดขนุน ทั้ง 2 แห่ง อยู่ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยพบทั้งเตาเผาและชิ้นเครื่องปั้นดินเผาเมื่อ พ.ศ. 2521 นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้วยังพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาสมัยศรีวิชัยที่จังหวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง เช่น ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  และอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง  แต่ไม่พบเตาเผา สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาชนะที่ส่งไปขายจากแหล่งเตาเผาที่บ้านปะโอและบ้านวัดขนุนก็ได้

เครื่องปั้นดินเผาสมัยศรีชัยมีเนื้อดินค่อนข้างแข็ง สีขาวและสีส้มนวล ไม่มีการเคลือบลายตกแต่งบนภาชนะ มีหลายแบบคล้ายกับเครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี รูปแบบของภาชนะก็มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ หม้อ จาน ชาม พาน คนที และคนโท

1. คนโท ตกแต่งลวดลายด้วยการขูดขีด

2. โกศมีฝารูปคล้ายดอกบัว ศิลปะหริภุญไชย

3. ไหเคลือบสีน้ำตาล ศิลปะลพบุรี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18

4. หม้อไม่เคลือบ ศิลปะลพบุรี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18