ยกระดับเครื่องปั้นดินเผา เพื่อการพัฒนาสู่สินค้าตลาดโลก

เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านในอดีตผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ มีทั้งไม่เคลือบและมีการเคลือบผิว จนสามารถสร้างเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ ที่สามารถผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อการค้าขาย และได้พัฒนาจน มีรูปแบบ ประโยชน์ใช้สอยมากมาย ซึ่งในปัจจุปันเครื่องปั้นดินเผาได้พัฒนาขึ้นจนเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผลิตเพื่อการส่งออกที่สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน สาเหตุจากการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีด้านวัสดุสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ส่งผลให้เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ถูกลดความสำคัญลง ผู้คนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านเพื่อขายจึงทยอยเลิกผลิตไปที่ละแหล่ง จนบางแหล่งเลิกผลิต หันไปประกอบอาชีพด้านอื่น เพื่อสร้างรายได้ทดแทน เหตุที่พัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านหยุดนิ่ง เกิดจากความนิยมในการใช้งานลดลง คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในสังคมปัจจุบัน รูปแบบดั้งเดิมที่ขาดการประยุกต์ออกแบบและพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายหากเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์จะค่อย ๆ เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา การวิจัยเพื่อยกระดับเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการพัฒนาสู่สินค้า OTOP ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงพัฒนา การผลิต ด้านการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันในปัจจุปันได้มากขึ้น มีการพัฒนาวิธีการผลิตคือเทคนิคในการผลิต การออกแบบ การตลาด ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน เพื่อจัดวางแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม แก้ปัญหา เพื่อให้แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่สร้างรายได้ และความภาคภูมิใจ ให้กับคนไทยว่าสินค้าของไทยก็โดดเด่นไม่แพ้ชาติใดในโลก